แชร์

วิธีการเลี้ยงแมว ดูแลลูกแมวแรกเกิดโดยไม่มีแม่

อัพเดทล่าสุด: 6 พ.ย. 2023
418 ผู้เข้าชม
วิธีการเลี้ยงแมว ดูแลลูกแมวแรกเกิดโดยไม่มีแม่

ลูกแมวแรกเกิดเป็นช่วงเวลาที่ต้องเอาใจใส่และให้ความอบอุ่นเป็นพิเศษ เราจึงมักเห็นแม่แมวคอยนอนกกลูกอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่เจ้าเหมียวตัวน้อยนั่นเอง แม่แมวทำหน้าที่เป็นเสมือนผ้าห่มอุ่น ๆ คอยให้นม เลียทำความสะอาด และดูแลในด้านอื่น ๆ เป็นอย่างดีเพื่อให้ลูกแมวน้อยปลอดภัย แต่ในกรณีที่เจ้าแมวน้อยแรกเกิดกำพร้าแม่ ไม่มีแม่แมวคอยดูแล อาจเพราะแม่แมวเสียชีวิตหรือมีเหตุการณ์ที่ทำให้แม่แมวและลูกแมวแยกจากกัน คนเลี้ยงแบบเราจึงต้องทำหน้าที่เป็นแม่แมวจำเป็น คอยดูแลเจ้าเหมียวน้อยแทน จะมีวิธีการดูแลลูกแมวแรกเกิดอย่างไรบ้าง อะพอลโลมีคำแนะนำมาฝากกันค่ะ

 

วิธีเลี้ยงลูกแมวแรกเกิดไม่มีแม่

1. ให้ความอบอุ่นแก่ลูกแมว
2. ให้นมลูกแมวด้วยนมแพะหรือนมสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะทุก 2 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมงครึ่ง
3. รักษาความสะอาดบริเวณที่ลูกแมวอยู่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
4. ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดบริเวณท้องและอวัยวะเพศเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย
5. กรณีที่มีลูกแมวหลายตัวควรฝึกให้ลูกแมวได้อยู่ด้วยกันเพื่อเรียนรู้การเข้าสังคม

 


1. ให้ความอบอุ่นแก่ลูกแมวแรกเกิด

แมวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอุณหภูมิของร่างกายไม่สามารถปรับตามสภาพอากาศภายนอกได้ ลูกแมวแรกเกิดจึงต้องการความอบอุ่นเป็นพิเศษ แม่แมวจำเป็นอย่างเราจึงต้องจัดเตรียมสถานที่ที่สามารถให้ความอบอุ่นกับลูกแมวได้ เช่น ตะกร้าที่นอนแมวโดยมีผ้าปู 2-3 ชั้น ที่สามารถป้องกันลมได้ หรือใช้เป็นที่นอนแมวปุนุ่นสำหรับให้ความอบอุ่น นอกจากนี้สถานที่เลี้ยงลูกแมวแรกเกิดไม่ควรอับชื้นเพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ กรณีที่เลี้ยงลูกแมวอายุต่ำกว่า 4 สัปดาห์อุณหภูมิห้องเลี้ยงลูกแมวที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 29 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ควรมีหลอดไฟเล็ก ๆ ติดไว้บริเวณกรงหรือที่นอนลูกแมวเพื่อให้ความอบอุ่นตลอดคืนด้วย แต่สำหรับลูกแมวที่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ใช้เป็นห้องที่อบอุ่นและอากาศถ่ายเทสะดวกก็เพียงพอแล้ว

 


2. ให้นมลูกแมวด้วยนมแพะหรือนมสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะทุก 2 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมงครึ่ง

โดยธรรมชาติลูกแมวจะดื่มนมตั้งแต่แรกเกิดจนอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ แต่แน่นอนว่าลูกแมวทุกตัวมีความแตกต่างกัน เช่นเดียวกับเด็กแรกเกิด ไม่ว่าจะเป็นขนาดตัว น้ำหนัก ส่วนสูง ดังนั้นความต้องการด้านปริมาณนมก็แตกต่างกันไปด้วย แม่แมวจำเป็นจึงต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของลูกแมวแรกเกิดเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ตอบสนองการให้อาหารของเรา ตัวอย่างที่สังเกตง่ายที่สุด คือ เสียงร้องของลูกแมว หากเด็ก ๆ ร้องบ่อยอาจเป็นสัญญาณที่บอกเราว่าพวกเขาเริ่มที่จะหิวแล้ว

นมที่เหมาะสมกับลูกแมวแรกเกิดกำพร้าแม่ ควรเลือกใช้เป็นนมแพะหรือนมสำเร็จรูปสำหรับลูกแมวโดยเฉพาะเป็นนมทดแทน ไม่ควรให้นมวัวแก่ลูกแมวแรกเกิดเพราะนมวัวมีปริมาณแลคโตสสูงอาจทำให้ลูกแมวท้องปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องอืดได้ โดย

ปริมาณที่เหมาะสมกับการให้นมลูกแมวอยู่ที่ 1-2 ซีซี ต่อครั้ง สามารถใช้หลอดดูดยา หรือ Syringe เป็นเครื่องมือในการให้นมทดแทนเต้าจากแม่แมวได้ และควรให้นมทุก ๆ 2 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมงครึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกแมวแต่ละตัวด้วยเช่นกัน แม่แมวจำเป็นจึงต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของลูกแมวน้อยนั่นเอง

 


3. รักษาความสะอาดบริเวณที่ลูกแมวอยู่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ความสะอาดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดูแลลูกแมวแรกเกิดให้ปลอดภัย เพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกแมวแรกเกิดยังไม่สมบูรณ์ จึงมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิตต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร แม่แมวจำเป็นจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณที่ลูกแมวแรกเกิดอาศัยอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้

 


4. ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดบริเวณท้องและอวัยวะเพศเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย

ปกติแล้วหลังคลอดแม่แมวจะคอยดูแลทำความสะอาดลูกแมวของตัวเองด้วยการเลียอยู่เสมอ แต่การเลียของแม่แมวนั้นไม่เพียงแต่ทำความอาดอย่างเดียว แต่ยังช่วยกระตุ้นการขับถ่ายให้กับลูกแมวอีกด้วย เนื่องจากลูกแมวแรกเกิดจะยังไม่สามารถขับถ่ายด้วยตนเองได้สะดวก แม่แมวจึงคอยเลียบริเวณท้องหรืออวัยวะเพศเพื่อกระตุ้นให้น้องขับถ่ายนั่นเอง ดังนั้นการดูแลลูกแมวกำพร้าแรกเกิดจึงจำเป็นต้องใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดบริเวณท้องและอวัยวะเพศ รวมถึงบริเวณรูก้นของน้องเพื่อช่วยกระตุ้นให้น้องเกิดการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระให้กับน้องเป็นประจำ โดยให้นำสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดบริเวณดังกล่าวก่อนและหลังการให้นม ลูกแมวควรได้รับการกระตุ้นการขับถ่ายจนน้องอายุประมาณ 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นลูกแมวจะสามารถขับถ่ายได้โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่แมวจำเป็นอีก

 


5. กรณีที่มีลูกแมวหลายตัวควรฝึกให้ลูกแมวได้อยู่ด้วยกันเพื่อเรียนรู้การเข้าสังคม

กรณที่เรารับอุปการะหรือต้องดูแลลูกแมวแรกเกิดหลายตัวพร้อมกัน ควรฝึกให้น้องเข้าสังคมโดยการให้อยู่รวมกับลูกแมวตัวอื่น ๆ โดยสอนให้น้องเคยชินกับการอยู่กับเพื่อน เพื่อเพิ่มประสบการณ์เชิงบวกในการเข้าสังคมของลูกแมว ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมของน้องในการเรียนรู้แมวตัวอื่น ๆ ได้อีกด้วย

สิ่งสำคัญของการดูแลลูกแมวแรกเกิดกำพร้าแม่ คือ การเอาใจใส่และให้ความสำคัญเรื่องสุขลักษณะของที่อยู่ อาหาร และสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี นอกจากการดูแลเบื้องต้นแล้วคุณพ่อคุณแม่แมวจำเป็นยังควรพาน้องไปเช็คสุขภาพและรับวัคซีนสัตว์เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเจ้าแมวน้อยของเรามีสุขภาพที่แข็งแรงกันค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับสำหรับมือใหม่อยากเลี้ยงหนู
สำหรับใครที่อยากเลี้ยงเจ้าสัตว์เลี้ยงตัวกลม ขนปุยนุ่มฟู ขนาดเล็กกะทัดรัดย่างเจ้าหนูหลากหลายสายพันธุ์ วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ สำหรับมือใหม่ที่กำลังศึกษาข้อมูลหรืออยากเริ่มเลี้ยงหนูตัวแรก ว่าจะมีวิธีการเลือก วิธีการดูแลพวกเขาอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลยค่ะ
สัญญาณและอาการที่บ่งบอกว่าสุนัขและน้องแมวของเราป่วย
รวม 10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าสุนัขและน้องแมวของเราอาจจะกำลังป่วย หรือมีปัญหาสุขภาพ และคำแนะนำ ทำอย่างไรเมื่อสุนัขและน้องแมวของเราอยู่ในอาการฉุกเฉิน
10 สัตว์เลี้ยงตัวเล็ก น่ารัก สำหรับคนมีพื้นที่น้อย ปี 2023
อยากเลี้ยงสัตว์แต่พื้นที่จำกัด มาดู 10 สัตว์เลี้ยงตัวเล็ก น่ารัก สำหรับคนพื้นที่น้อย เลี้ยงอะไรดี ปี 2023 รับรองความน่ารัก ฉลาด และแสนรู้
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy